ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับท่อประปาสีฟ้าที่เราเห็นตามบ้านเรือนใช่มั้ยครับ

Mr.Happy อยากจะบอกว่าท่อประปาที่มีอยู่ท้องตลาดทั่วไปนั้นมีมากกว่าสีฟ้า 

อยากรู้แล้วใช่มั้ยละครับว่า มีสีอะไรบ้าง แล้วต่างละสีมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ไปเริ่มกันเลย.....

images by free.in.th

 

ท่อประปามีหลากสี…หลายแบบ แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

1. ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี
ทำจากเหล็กกล้า ผ่านการอาบ สังกะสี สามารถทำเกลียวได้ง่าย ท่อเหล็กอาบสังกะสี ปลายท่อทำเกลียวมาให้พร้อม มีแบบหนาปานกลาง ที่ท่อจะคาดสีน้ำเงิน และอย่างหนาที่ท่อคาดสีแดง

 

2. ท่อ PVC (PVC ย่อมาจาก Poly Vinyl Chloride) แบ่งแยกการใช้งานตามสีต่างๆ ดังนี้

2.1 ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี

2.2 ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตาม ประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)

2.3.ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน

 

3. ท่อไซเลอร์
ภายนอกเป็นท่อเหล็ก GSP. ภายในเป็นท่อ PE.มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันได้มากกว่า 20 บาร์ และอุณหภูมิสูง ถึง 90 องศา ไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับ ใช้ติดตั้งใน โรงแรม อาคารขนาดใหญ่ สถานที่ ๆ ที่ต้องการความทนทานสูง หรือสถานที่ ที่ยากต่อการซ่อมแซม ท่อชนิดนี้มีราคาสูงเมื่อเทียบกับท่อชนิดอื่น

 

4. ท่อพีพีอาร์ 
เกิดจากการ Random Copolymer Polypropylene ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง(Thermoplastic) ใช้วิธี เชื่อมต่อระหว่างท่อ กับข้อต่อด้วยวิธีการหลอมให้ความร้อน จึงทำให้ท่อและข้อต่อสามารถเชื่อมผสานกันเป็นเนื้อ เดียวกันมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาการรั่วซึม ที่บริเวณจุดต่อเชื่อมระหว่างท่อและข้อต่อ ใช้ได้ทั้งท่อน้ำร้อน และน้ำเย็น แข็งแรง ทนแรงดันได้สูงถึง 20 บาร์ อายุการใช้งาน ยาวนานกว่า50 ปี ไม่เป็นสนิม สะอาด สามารถใช้เป็นท่อน้ำดื่มได้ เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งใน บ้านพักอาศัย คอนโด ตึกแถว อาคารขนาดเล็ก ขนาดใหญ่

 

5. ท่อ PE – Poly Ethylene
ท่อโพลีเอทิลีน (HDPE) เป็นท่อพลาสติกอีกหนึ่งชนิด ซึ่งมีทั้งที่นำไปใช้เป็นท่อน้ำ และท่อร้อยสายไฟ มีความยืดหยุ่นสูงแต่ไม่สามารถนำมาใช้งานระบบน้ำร้อนได้ เหมาะสำหรับงานระบบประปาที่ฝั่งอยู่ใต้ดิน เพราะหากมีการทรุดตัวของดินไปกดทับท่อจะไม่ทำให้ท่อแตก แต่ท่อชนิดนี้มีข้อจำกัด หากนำมาใช้กับงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของบรรยากาศภายนอกมาก ด้วยคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกเองจะทำให้มีการยืดตัวสูง และเกิดท่อหยวยในที่สุด

 

ขอบคุณความรู้ดีๆจาก www.thaippr.com

fb_1 Tuesday 06 March 2018 / 14112 views